เมือง Marrakesh ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของโมร็อกโก ถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมของประเทศ เมืองที่น่าดึงดูดใจแห่งนี้มักถูกมองข้ามจากนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นแหล่งรวมอารยธรรมที่หลากหลาย และมอบประสบการณ์ที่มิอาจลืมเลือนให้กับผู้มาเยือน เราจะมาสำรวจความสำคัญของเมือง Marrakesh ทัศนียภาพที่สวยงามตระการตา และอัญมณีทางวัฒนธรรมอันน่าหลงใหลที่ทำให้เมืองนี้กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่ไม่ควรพลาด
โมร็อกโก (Morocco) เป็นหนึ่งในประเทศที่ชาวยุโรปชอบมาเที่ยวเป็นอย่างมาก นั่นไม่นับรวมการเป็นดินแดนสุดโปรดของบรรดาศิลปินทั้งหลายที่แวะเวียนมาที่นี่บ่อยๆ รวมไปถึงมีบ้านอยู่ที่นี่อีกด้วย เมืองหลวงของประเทศนี้ก็คือ เมืองราบัด (Rabat) แต่ถ้าหากพูดถึงเรื่องการท่องเที่ยวแล้วเมืองที่โดดเด่นที่สุดในโมร็อกโกต้องยกให้กับ มาราเกซ (Marrakesh) ที่ตั้งอยู่แถบตีนเทือกเขาแอตลาสนั่นเอง เสน่ห์ของเมืองนี้ที่ทำให้ทุกคนหลงใหลก็คือการผสมผสานกันระหว่างความเก่าแก่และความทันสมัยได้อย่างลงตัว ไปจนถึงวิถีชีวิตผู้คนที่เรายังคงสัมผัสกลิ่นอายวัฒนธรรมดั้งเดิมไปพร้อมกับรับวิถีสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ได้อย่างไม่ขัดแย้งกัน นั่นเลยทำให้หลายคนอยากที่จะมาสัมผัสเสน่ห์ของแอฟริกาที่ไม่เหมือนที่ไหนในดินแดนแห่งนี้
ความสำคัญของมาราเกช
เมืองมาราเกชเป็นศูนย์กลางการค้าและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน ทำเลที่ตั้งอันเป็นยุทธศาสตร์เชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆ ของโมร็อกโก ทำให้เมืองนี้เป็นจุดสำคัญในเส้นทางสายไหมแห่งประวัติศาสตร์ การผสมผสานอิทธิพลจากอารยธรรมเบอร์เบอร์ อาหรับ และฝรั่งเศสทำให้เมืองนี้กลายเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีสถานที่สำคัญที่มีอายุกว่าหลายศตวรรษ ซากสถาปัตยกรรมโบราณและสถานที่ทางประวัติศาสตร์บอกเล่าเรื่องราววิวัฒนาการของโมร็อกโกตลอดช่วงเวลา ตั้งแต่ปราสาทอันสง่างามไปจนถึงเมดินาโบราณ โครงสร้างแต่ละแห่งล้วนบอกเล่าเรื่องราวในอดีตที่ชวนให้สำรวจ
ถึงแม้ว่าประเทศโมร็อกโก (Morocco) จะอยู่ในทวีปแอฟริกา แต่ที่ตั้งที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปทำให้ประเทศนี้อยู่ใกล้กับตอนใต้ของสเปนและไม่ไกลจากโปรตุเกสมากนัก นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ดินแดนแถบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งยุโรปทางตอนใต้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะดินแดนแถบฝั่งเหนือของเทือกเขาแอตลาส (Atlas Mountain) ซึ่งติดทะเลและอุดมสมบูรณ์กว่าอีกฝั่งที่แห้งแล้งและรู้กันดีว่ามันคือ ทะเลทรายซาฮารา (Sahara Desert) ที่ได้ชื่อว่าทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั่นเอง
4 แหล่งในเมืองเก่าเมืองใหม่แห่งมาราเกช
มาราเกซนั้นแบ่งเมืองเป็นสองเขตคือเขตเมืองเก่าและเขตเมืองใหม่ สำหรับเขตเมืองเก่านั้นจะเรียกว่าเขตเมดินา (Medina) ซึ่งแปลว่า “เมืองเก่า” ที่เริ่มสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1062 บริเวณนี้จะมีกำแพงสีส้มขนาดใหญ่ล้อมรอบ ความยาวของกำแพงทั้งหมดวัดได้ 18 กม. มีประตูเมืองทางเข้าออกถึงกว่า 20 ประตู อาคารต่างๆ ที่อยู่ภายในเขตเมืองเก่านั้นได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี บ้านเรือนแบบดั้งเดิมคุมโทนด้วยสีส้มโอลด์โรสแทบทั้งหมด นั่นเลยทำให้มาราเกซได้รับฉายาว่า Pink City หรือ นครสีชมพู ด้วยนั่นเอง
ภายในเขตเมืองเก่านี้ยังเต็มไปด้วยโบราณสถานที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวคลาสสิกมากมาย ตลอดจนวิถีชุมชนดั้งเดิมที่ยังคงดำเนินอย่างไม่เปลี่ยน เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของบ้านเรือนแบบโมร็อกโกดั้งเดิมก็คือบ้านแบบ “ริยาด (riad)” ซึ่งบ้านลักษณะนี้จะมีพื้นที่สวนหรือพื้นที่ว่างอยู่ตรงกลางบ้านนั่นเอง ในเขตเมืองเก่ามีริยาดอยู่เป็นจำนวนมาก หลายริยาดถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นโรงแรมที่พักเก๋ๆ ที่จะช่วยให้เราสัมผัสวิถีท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น หลายคนรวมไปถึงไกด์บุ๊คหลายเล่มต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าถ้ามาถึงมาราเกซแล้วไม่ได้พักในบ้านแบบริยาดนั้นแสดงว่าคุณยังมาไม่ถึงอย่างแท้จริง
ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นหลอมรวมให้โซนเมืองเก่าของมาราเกซกลายเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวที่น่าหลงใหล กำแพงเมืองยังคงถูกอนุรักษ์ไว้ดังเดิมเลยทำให้เมืองเก่านี้ยังคงมนต์เสน่ห์ที่มีความขลังไม่เคยเปลี่ยน ความสมบูรณ์แบบของเมืองเก่าที่ไม่ต่างจากอดีตมากนักนี้ทำให้เขตเมดินาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกจากองค์การ UNESCO ในนาม Medina of Marrakesh หรือ เมืองเก่าแห่งมาราเกซ ในปี ค.ศ.1985 ซึ่งคุณค่านี้แหละที่ดึงดูดให้ผู้คนทั่วโลกอยากแวะมาเยือน
1. Jemaa el-Fnaa หรือเรียกว่า Djemaa el-Fnaa
สถานที่ที่โดดเด่นที่สุดในเขตเมืองเก่านั้นต้องยกให้ Jemaa el-Fnaa หรือเรียกว่า Djemaa el-Fnaa ซึ่งนี่ก็คือจัตุรัสกลางเมืองอันวุ่นวายและก็เป็นที่ตั้งของ “ซุก (Souk)” ที่แปลว่าตลาดท้องถิ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในซุกยอดนิยมที่มีชื่อเสียงของมาราเกซเช่นกัน จัตุรัสนี้มีมาตั้งแต่สมัยก่อร่างสร้างเมือง เดิมทีเคยเป็นจัตุรัสในพระราชวัง ก่อนที่กษัตริย์จะย้ายไปสร้างวังใหม่ ก็เลยกลายเป็นที่สาธารณะของเมืองนับแต่นั้นมา Jemaa el-Fnaa มีทั้งโซนตลาดนัดกลางแจ้งที่มักจะเต็มไปด้วยแผงขายอาหารท้องถิ่น และโซนร้านรวงต่างๆ ที่แทรกตัวอยู่ตามซอกซอยทั่วบริเวณไปหมด ขายของสารพัดอย่างตั้งแต่ของที่ระลึกไปจนถึงของใช้ประจำวัน อารมณ์คล้ายกับเดินจัตุจักรหรือไม่ก็สำเพ็งในบ้านเรา แต่พ่อค้าแม่ค้าจะตั้งราคาสินค้าไว้สูงมาก โดยเฉพาะเอาไว้โขกนักท่องเที่ยว ก่อนซื้อควรต่อรองราคาจนเราพอใจเสียก่อน
2. Koutoubia Mosque (La Koutoubia)
ด้านข้างจัตุรัสมีสถาปัตยกรรมทรงคุณค่าคือ Koutoubia Mosque (La Koutoubia) สุเหร่าเก่าแก่ที่ได้ชื่อว่าเป็นสุเหร่าที่ใหญ่ที่สุดและงดงามที่สุดในมาราเกซ สร้างขึ้นครั้งแรกราวปี ค.ศ.1147 แล้วเสร็จในสมัยที่ Yaqub al Mansur เป็นผู้นำศาสนาอิสลามราวปี ค.ศ.1157 โดยสร้างบนพื้นที่พระราชวังเดิมของกษัตริย์ Ali ibn Yusuf ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ Almoravid นั่นเอง
บริเวณจัตุรัสแห่งนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ Ben Youssef Mosque หรือบางทีก็เขียนว่า Ibn Yusuf Mosque นี่คือสุเหร่าอิสลามแห่งแรกของมาราเกซและยังเป็นสุเหร่าที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองนี้อีกด้วย สุเหร่าสไตล์โมร็อกโกอาจจะแตกต่างจากสุเหร่าอิสลามทั่วไปที่เราคุ้นเคยคือสถาปัตยกรรมนั้นจะเป็นอาคารทรงเหลี่ยมที่ผอมสูงคล้ายหอคอยไม่ใช่อาคารหลังคาทรงโดม สุเหร่ากลางเก่าแก่นี้สร้างขึ้นในช่วงยุค 1070s โดยกษัตริย์ Yusuf ibn Tashfin แห่งราชวงศ์ Almoravid ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเมืองนี้นั่นเอง
สุเหร่าแห่งนี้เป็นอาคารทรงสูงแบบหอคอยสี่เหลี่ยม รายละเอียดของสถาปัตยกรรมนั้นประณีตทั้งภายนอกและภายใน การตกแต่งภายในของอาคารต่างๆ ก็งดงามไม่แพ้กัน โดยเฉพาะกรอบหน้าต่างและประตูทรงโค้งที่ถือเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมเฉพาะตัวที่โดดเด่นทีเดียว นั่นเป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่ทำให้อาคารแห่งนี้ถือเป็นต้นแบบสถาปัตยกรรมสไตล์ Moroccan-Andalusian ที่เป็นการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมอิสลามและโมร็อกโกจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเลยก็ว่าได้ และสุเหร่าแห่งนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้สิ่งก่อสร้างในยุคเดียวกันอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะ Hassan Tower (Tour Hassan) สุเหร่าเก่าแก่ในกรุงราบัด (Rabat) เมืองหลวงของโมร็อกโก รวมไปถึงหอระฆังมรดกโลก Giralda แห่งโบสถ์ Seville Cathedral ในสเปนอีกด้วย
3. Saadian Tombs
อีกหนึ่งสถาปัตยกรรมในย่านเมืองเก่าที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงก็คือ Saadian Tombs หรือ สุสานแห่งราชวงศ์ซาเดียน อันเป็นราชวงศ์ที่ปกครองโมร็อกโกในช่วง ค.ศ.1549-1659 นั่นเอง อันที่จริงสุสานแห่งนี้ถูกทิ้งร้างมานานหลายศตวรรษและแทบไม่น่าเชื่อว่าจะถูกค้นพบโดยภาพถ่ายทางอากาศเมื่อราวปี ค.ศ.1917 นี่เอง จากนั้นสุสานแห่งนี้จึงได้รับการบูรณะขึ้นใหม่และกลายเป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญของมาราเกซในทันที สำหรับสุสานแห่งราชวงศ์ซาเดียนนี้สร้างขึ้นในสมัยสุลต่าน Ahmad al Mansur (ค.ศ.1578-1603) ซึ่งเป็นสุลต่านองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ซาเดียน และถือเป็นสุลต่านที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยราชวงศ์ของพระองค์ โดยสุสานแห่งนี้ได้ฝังพระบรมศพของพระองค์ไปจนถึงบรรดาพระศพเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์ซาเดียนทั้งหมดรวม 60 พระองค์ด้วยกัน ภายในสุสานแห่งนี้โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมสไตล์ Moorish Architecture ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมอิสลามทางแอฟริกาตอนเหนือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
4. Bahia Palace
สำหรับสถาปัตยกรรมโมร็อกโกยุคใหม่ที่น่าหลงเสน่ห์ และเป็นหนึ่งในเพชรเม็ดงามของมาราเกซก็คือ Bahia Palace ซึ่งแปลว่าพระราชวังที่เปล่งประกายนั่นเอง พระราชวังนี้สร้างขึ้นตอนช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยมหาอำมาตย์ Si Moussa เพื่ออุทิศให้กับหนึ่งในภรรยาของท่านและชื่อพระราชวังก็มาจากชื่อภรรยานั่นเอง ถึงแม้พระราชวังแห่งนี้จะไม่ได้ยิ่งใหญ่อลังการเท่าไรนัก แต่เสน่ห์ของ Bahia Palace นี้ก็คือการผสมผสานวัฒนธรรมอิสลามกับศิลปะท้องถิ่นสไตล์โมร็อกโกเข้าไว้ด้วยกันเป็นอย่างดี สถาปัตยกรรมถูกสร้างขึ้นตามพื้นฐานของริยาดที่มีพื้นที่โล่งอยู่กลางบ้าน และสวนเล็กๆ ที่งดงามอยู่ภายในบริเวณอาคาร แล้วสิ่งที่สร้างความประทับใจที่สุดก็เห็นจะเป็นความวิจิตรของงานฝีมือที่แทรกตัวอยู่ทุกพื้นที่ตั้งแต่พื้นทางเดินทั้งด้านในและด้านนอก ผนัง ซุ้มประตูหน้าต่าง ไปจนถึงเพดาน ซึ่งเป็นงานหัตถศิลป์อิสลามผสมผสานโมร็อกโกอันประณีต แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของวัฒนธรรมและศิลปะของมาราเกซได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุด
ในเมืองใหม่แห่งมาราเกช
5. Jardin Majorelle (Le Jardin de Majorelle)
คราวนี้เราจะพาออกไปเที่ยวโซนนอกกำแพงเมืองเก่ากันบ้าง เอกลักษณ์ของเมืองใหม่นี้ก็คือการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมดั้งเดิมแบบโมร็อกโกกับสถาปัตยกรรมยุคใหม่ที่คงกลิ่นอายดั้งเดิมอย่างมีเสน่ห์ไปอีกรูปแบบ วิถีชีวิตของคนนอกกำแพงนี้ค่อนข้างจะอิสระเสรีตามแบบชาวตะวันตก นั่นทำให้ย่านนี้คึกคักและเต็มไปด้วยร้านรวงเก๋ๆ มากมาย ตั้งแต่ร้านขายสินค้ามีดีไซน์ คาเฟ่น่านั่ง ไปจนถึงร้านอาหารฝรั่งเศสสุดหรูกันเลยทีเดียว ในขณะเดียวกันก็ยังมีโบราณสถานที่เป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ดั้งเดิมแทรกตัวอยู่ด้วย นั่นทำให้มาราเกซกลายเป็นเมืองผสมผสานหลากหลายวัฒนธรรมที่มีเสน่ห์อีกแห่งของโลก
Jardin Majorelle (Le Jardin de Majorelle) หรือ Majorelle Garden ซึ่งเป็นสวนที่โด่งดังระดับโลก และเป็นที่รู้จักเป็นพิเศษสำหรับแวดวงแฟชั่น ตลอดจนศิลปะและการออกแบบ สวนแห่งนี้เป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1923 โดยศิลปินชาวฝรั่งเศส Jacques Majorelle นั่นทำให้สวนแห่งนี้นอกจากจะมีพืชพรรณมากมายแล้วยังได้รับการออกแบบสวนเป็นอย่างดีด้วย นอกจากพันธุ์ไม้ต่างๆ อีกหนึ่งพระเอกของสวนแห่งนี้ก็คือวิลล่าสีน้ำเงินเข้มที่ผุดขึ้นท่ามกลางธรรมชาติเขียวขจี ซึ่งสร้างขึ้นราวช่วงยุค 1930s ตามแบบสถาปัตยกรรมแนว Cubist Architecture โดยฝีมือสถาปนิกชาวฝรั่งเศส Paul Sinoir อาคารหลังนี้แต่เดิมเป็นที่พักส่วนตัวของ Jacques Majorelle และภรรยามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1923 จนมาถึงช่วงปี ค.ศ.1947 เขาก็ได้เริ่มเปิดสวนนี้ให้คนทั่วไปได้เข้าชมโดยเก็บค่าเข้าเพื่อนำเงินมาบำรุงรักษาสวนและทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงพอตัว ต่อมาในช่วงยุค 1950s ทั้งสองตัดสินใจหย่าขาดจากกัน และได้เริ่มประกาศขายสินทรัพย์นี้ จนกระทั่งในยุค 1980s ก็มีผู้มาซื้อต่อซึ่งก็คือแฟชั่นดีไซน์เนอร์ชาวฝรั่งเศสชื่อดังก้องโลกอย่าง Yves Saint-Laurent และผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์อย่าง Pierre Bergé นั่นเอง
หลังจากนั้นได้มีการบูรณะสวนครั้งใหญ่ วิลล่าหลังสีน้ำเงินอันโดดเด่นถูกปรับเปลี่ยนมาเป็น Berber Museum พิพิธภัณฑ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นแถบแอฟริกาเหนือ พร้อมด้วยการจัดแสดงคอลเล็กชันภาพวาดฝีแปรงของ Jardin Majorelle ไปในตัวด้วย ในส่วนของสตูดิโอทำงานศิลปะก็ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็น Islamic Art Museum of Marrakech พิพิธภัณฑ์ที่อุทิศให้กับศิลปะแห่งอิสลามในสไตล์โมร็อกโก จากนั้นมาสวนแห่งนี้ก็มีผู้แวะมาเยี่ยมเยือนจากทั่วโลกมากมาย ซึ่งรายได้จากกองทุนบำรุงรักษาก็ถูกนำมาดูแลทรัพย์สินทั้งหมดอย่างดีเยี่ยมเช่นกัน รวมไปถึงการนำเงินจากกองทุนนี้มาสร้างโปรเจกต์ใหม่ที่คนทั่วโลกให้ความสนใจอย่าง THE MUSÉE YVES SAINT LAURENT MARRAKECH พิพิธภัณฑ์ที่อุทิศให้กับ Yves Saint-Laurent อีกแห่งนอกเหนือจากที่ปารีส ซึ่งยิ่งใหญ่อลังการไม่แพ้กันเลยทีเดียว พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อปี ค.ศ.2017 ที่ผ่านมา นอกจากคอลเล็กชั่นเด่นที่สร้างประวัติศาสตร์ให้กับโลกใบนี้ ประวัติเรื่องราวของดีไซน์เนอร์ผู้โด่งดัง ไปจนถึงข้าวของต่างๆ ที่ทรงคุณค่าแล้ว สถาปัตยกรรมของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็โดดเด่นเป็นอย่างมากและเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ระดับโลกที่ทุกคนชื่นชมในการออกแบบ โดยสถาปัตยกรรมร่วมสมัยนี้หยิบเอาเอกลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ตกแต่งร่วมกับสถาปัตยกรรมยุคใหม่ได้อย่างลงตัว ซึ่งนี่คือผลงานออกแบบของ The Studio KO บริษัทสถาปนิกฝรั่งเศสที่โด่งดัง แล้วนี่ก็คือแม่เหล็กตัวใหม่ของมาราเกซที่ดึงดูดให้คนทั่วโลกอยากแวะเวียนไปสักครั้ง
เมืองมาลาเกรสถือเป็นหัวใจของโมร็อกโกอย่างแท้จริง ผสมผสานประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความงามทางธรรมชาติได้อย่างมีเอกลักษณ์ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักผจญภัย ผู้ที่ชื่นชอบประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่รักงานศิลปะ เมืองอันน่าหลงใหลแห่งนี้มีสิ่งที่น่าสนใจสำหรับทุกคน อย่าพลาดโอกาสที่จะสำรวจอัญมณีที่ซ่อนอยู่แห่งนี้และค้นพบความมหัศจรรย์ของเมืองมาลาเกรส