3 ยุคที่ยิ่งใหญ่แห่ง อารยธรรมอียิปต์โบราณ

อารยธรรมอียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ (เป็นคำภาษาไทยที่ใช้เรียกอียิปต์โบราณ)  เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางแอฟริกาจนถึงปากแม่น้ำไนล์ เป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ปัจจุบัน

อารยธรรมอียิปต์โบราณ สืบเนื่องมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ช่วงเวลาประวัติศาสตร์มนุษย์ในระหว่างการใช้เครื่องมือหินครั้งแรก จนถึงจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึก (recorded history) มีการคิดค้นระบบการเขียน การใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และภาพปรากฏในกลุ่มมนุษย์ยุคแรก  

อารยธรรมอียิปต์โบราณ

อาณาจักรเริ่มปรากฏชัดเมื่อประมาณ 3,150 ปีก่อนคริตศักราช จากการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์นาร์เมอร์(Narmer) ซึ่งเป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ ที่สามารถรวมอียิปต์เป็นปึกแผ่น ( ยุคราชวงศ์เริ่มแรก ราว 3150–2686 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 1–2)

อารยธรรมอียิปต์โบราณ
แม่น้ำไนล์ในช่วงเมือง Aswan ปัจจุบัน อยู่ตอนใต้สุด

อียิปต์โบราณจำแนกตามยุคอาณาจักร โดยเป็นราชอาณาจักร (Kingdoms) แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครอง และยุคที่ไม่มีความแน่นอนเป็นช่วงต่อ (Intermediate Periods) ได้แก่

อันดับแรกราชอาณาจักรเก่า ในช่วงต้นยุคสัมฤทธิ์ ราชอาณาจักรเก่า (2686–2181 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 3–6) และช่วงต่อที่ 1 (2181–2061 ปีก่อน ค.ศ.: ราชวงศ์ที่ 7–11) 

อารยธรรมอียิปต์โบราณ
Photo by Dithichaya (2023)

พีระมิดขั้นบันได (Stepped Pyramid) ของฟาโรห์โซเซอร์แห่งราชวงศัที่ 3  เป็นสุสานฟาโรห์ที่เก่าแก่ที่สุด อยู่ในเมืองซักการา อายุราว 2610 ปีก่อนคริสตกาล, 

พีระมิดขั้นบันไดของฟาโรห์ Djoser หรือที่รู้จักกันในชื่อพีระมิดขั้นบันได ถือเป็นโครงสร้างอียิปต์โบราณที่น่าทึ่งที่สุดแห่งหนึ่ง และทำหน้าที่เป็นพีระมิดที่เก่าแก่ที่สุดในอียิปต์ สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่สามของอาณาจักรเก่า ประมาณ 2,610 ปีก่อนคริสตกาล ตั้งอยู่ในสุสาน Saqqara ใกล้กับเมืองเมมฟิส เมืองหลวงโบราณของอียิปต์

พีระมิดขั้นบันไดได้รับการออกแบบโดยสถาปนิก Imhotep แสดงถึงความก้าวหน้าทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญในอียิปต์โบราณ โดยเป็นการเปลี่ยนจากสุสานมาสตาบาในยุคก่อนๆ ไปสู่ปิรามิดอันยิ่งใหญ่ที่จะครองภูมิทัศน์ในเวลาต่อมา พีระมิดเป็นชั้นที่มีขั้นบันได 6 ชั้น โดยค่อยๆ ลดขนาดลงเมื่อขึ้นไป ทำให้มีลักษณะที่โดดเด่น

เดิมที กลุ่มพีระมิดขั้นบันไดประกอบด้วยโครงสร้างต่างๆ เช่น วิหารเก็บศพ สนามหญ้า และกำแพงโดยรอบ ทั้งหมดนี้ล้อมรอบพีระมิดตรงกลาง โครงสร้างเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นพิธีการและงานศพของฟาโรห์ Djoser และชีวิตหลังความตายของเขา

การก่อสร้างขั้นบันไดพีระมิดยังใช้บล็อกหินที่ตัดแล้ว แทนที่จะใช้วิธีการก่อสร้างด้วยอิฐโคลนแบบเดิม นวัตกรรมนี้ทำให้เกิดความมั่นคงและความทนทานมากขึ้น โดยวางรากฐานสำหรับปิรามิดขนาดใหญ่ที่จะตามมาในราชวงศ์ต่อมา

นอกจากนี้ กลุ่มพีระมิดขั้นบันไดยังมีเครือข่ายอุโมงค์และห้องใต้ดิน ซึ่งอาจแสดงถึงความพยายามในยุคแรกๆ ในการสร้างห้องฝังศพอันวิจิตรบรรจงที่พบในปิรามิดรุ่นหลังๆ แม้ว่าขั้นบันไดพีระมิดเดิมตั้งใจให้เป็นสุสานของฟาโรห์ Djoser แต่ก็ยังใช้เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและสถานะอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งและความสามารถของรัฐอียิปต์โบราณ

ปัจจุบัน Step Pyramid of Djoser ยืนหยัดเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเฉลียวฉลาดและความกล้าหาญทางสถาปัตยกรรมของอียิปต์โบราณ โดยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่ตื่นตาตื่นใจกับการออกแบบที่น่าประทับใจและความสำคัญทางประวัติศาสตร์

อารยธรรมอียิปต์โบราณ
กลุ่มมหาปิรามิคแห่งเมืองกิเซ่ห์ เป็นปิรามิคของฟาโรห์ 3 พระองค์จากราชวงศ์ที่ 4 , Photo by Dithichaya (2023)

ลำดับต่อมา คือ ราชอาณาจักรกลาง ในช่วงกลางยุคสัมฤทธิ์ (2061–1690 ปีก่อน ค.ศ.: ราชวงศ์ที่ 11–14) ช่วงต่อระยะที่ 2  (1674–1549 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 15–17)

ลำดับต่อมา คือ ราชอาณาจักรใหม่  ในช่วงปลายยุคสัมฤทธิ์ ซึ่งในยุคราชอาณาจักรใหม่นี่เองที่อารยธรรมอียิปต์โบราณรุ่งเรืองถึงจุดสูงสุด โดยได้ปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของนูเบียและส่วนหนึ่งของตะวันออกใกล้ ก่อนที่จะเสื่อมถอยไปอย่างช้าๆ (1549–1077 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 18–20) ช่วงต่อระยะที่ 3 (1069–653 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 21–25) และยุคปลาย (653–332 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 26–31

อารยธรรมอียิปต์โบราณ

มหาวิหาร Kanak สร้างถวายเทพเจ้า Amun เป็นมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุด, Photo by Dithichaya (2023)

ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ อียิปต์ถูกรุกรานหรือยึดครองโดยต่างชาติหลายต่อหลายครั้ง กล่าวคือ โดยฮิกซอส ลิเบีย นูเบีย อัสซีเรีย อคีเมนียะห์เปอร์เซีย มาเกโดเนีย และสุดท้ายภายใต้การยึดครองโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเมื่อ 332 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งทำให้อาณาจักรอียิปต์โบราณล่มสลายลง ซึ่งช่วงนั้นอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิมาเกโดเนีย 

อารยธรรมอียิปต์โบราณก็ดำรงอยู่ต่อไปภายใต้ราชวงศ์ทอเลเชื้อสายกรีกที่ตั้งขึ้นภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ และปกครองอียิปต์จนถึง 30 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคพระนางคลีโอพัตรา กระทั่งจักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองและกลายมาเป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน เกิดการผสมผสานเข้ากับอารยธรรมผู้เข้าครอบครองจนอียิปต์ดั่งเดิมเลือนหายไปในที่สุด

george-youssef-Yy2yvY8PoRo-unsplash.jpg

เมือง Alexandria, Egypt , Photo by George Youssef on Unsplash

อียิปต์เป็นแหล่งการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาแหล่งอารยธรรมของโลกที่สำคัญ ทั้งได้ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาตลอดเวลา  ปัจจุบันได้มีการค้นพบวัตถุโบราณใหม่ๆ ในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมาของอารยธรรมของโลกจากวัตถุโบราณเหล่านี้